ภาษา ๔ ภาค

ภาษา 4 ภาค

ภาษาสื่อสารเกิดจากการเรียนรู้ มิใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากสัญชาติญาณ 
มนุษย์เราค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาเพื่อ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มาทีละเล็กทีละน้อยตามความจำเป็น ของชีวิตและมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ทั้งภาษาถ้อยคำและภาษา ที่ไม่ใช่ถ้อยคำการใช้ภาษา ในชีวิตประจำวันย่อมมีความแตกต่างกัน ไปบ้างตามกาลเทศะ บุคคล อาชีพ เพศ วัย สภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ วิธีการเรียบเรียงถ้อยคำ และการเลือกใช้ถ้อยคำ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีสิทธิผลทำให้เกิดความแตกต่าง ทำให้เกิดภาษากลุ่มย่อย ๆ ขึ้น แต่อย่างไร ก็ตามไม่ว่าผู้ใช้ภาษา จะอยู่ในสังคมใด ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาของคนในสังคมนั้นให้เข้าใจ ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ภาษาสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษากลุ่มย่อย ๆ ต่าง ๆ มีดังนี้




 หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น

                                  
 ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ 
และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้




ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ




คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กิ๋น
กิน
กาด
ตลาด
กาดมั่ว
ตลาดเช้า
กาดแลง
ตลาดเย็น
กะเลิบ
กระเป๋า
เกือก
รองเท้า
เกี้ยด
เครียด
ขนาด
มาก
ขี้จุ๊
โกหก
ขี้ลัก
ขี้ขโมย
เข
บังคับ
ขัว
สะพาน
คุ้ม
วัง
เคียด
โกรธ
ง่าว
โง่
จั๊ดนัก
มาก
จ้อง, กางจ้อง
ร่ม, กางร่ม
เชียง
เมือง
ตุง
ธง
ตุ๊เจ้า
พระ
เต้า
เท่า
เตี่ยว, ผ้าเตี่ยว
กางเกง
บะเขือส้ม
มะเขือเทศ
บะกล้วยแต้ด
มะละกอ
ป้อ
พ่อ
ปิ๊ก
กลับ
ไผ
ใคร
ผ้าหัว
ผ้าขาวม้า
ม่วน
สนุก
เมื่อย
เป็นไข้, ไม่สบาย
เยียะ
ทำ
ละอ่อน
เด็ก
ลำ
อร่อย
สึ่งตึง
ซื่อบื้อ
หัน
เห็น
หื้อ
ให้




อีสาน   ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

                                                                 


                 

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน

คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะปอม
กิ้งก่า
กะต้า
ตะกร้า
เกิบ
รองเท้า
ข่อย
ฉัน, ผม
ข้อง
ติด, คา
คึดฮอด
คิดถึง
จังซั่น
อย่างนั้น
จังซี่
อย่างนี้
จังได๋
อย่างไร
จั๊ก
รู้
จ้อย
ผอม
จือ, จือจำ
จำ, จดจำ
แซบอีหลี
อร่อยจริง ๆ
เซา
หยุด
ซวด ๆ
ปรบมือ
โดน
นาน
ด๊ะดาด
มากมาย
ตั๊วะ
โกหก
แถน
เทวดา
เทื่อ
ที, หน, ครั้ง
ท่ง
ทุ่ง
ทางเทิง
ข้างบน
เบิ่ง
ดู
บักเสี่ยว
เพื่อนเกลอ
บักหุ่ง
มะละกอ
บักสีดา
ฝรั่ง
ผู้ใด๋
ใคร
ฟ้าฮ่วน
ฟ้าร้อง
ม่วน, ม่วนหลาย
สนุก, สนุกมาก
แม่น
ใช่
ย่าง
เดิน
ยามแลง
เวลาค่ำ
แลนหนี
วิ่งหนี
เว้าซื่อ ๆ
พูดตรงไปตรงมา
หนหวย
หงุดหงิด
อ้าย
พี่
เฮ็ด, เฮ็ดเวียด
ทำ, ทำงาน
ฮอด, เถิง, คิดฮอด
ถึง, คิดถึง





  ภาษาถิ่นใต้  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป 

 


ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้ 


คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กุบกั่บ
รีบร้อน
กางหลาง
เกะกะ
แกล้ง
ตั้งใจทำ
โกปี้
กาแฟ
ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง
ขี้หมิ้น
ขมิ้น
ขี้ชิด
ขี้เหนียว
แขบ
รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ
โกหก
แขว็ก
แคะ
เคร่า
คอย, รอคอย
เคย
กะปิ
ไคร้
ตะไคร้
ครกเบือ
ครก
คง
ข้าวโพด
งูบองหลา
งูจงอาง
ฉ่าหิ้ว
ตะกร้า
ชันชี
สัญญา
เชียก
เชือก
ตอเบา
ผักกระถิน
แตงจีน
แตงโม
โตน
น้ำตก
ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โลภมาก,อยากได้
ต่อเช้า
พรุ่งนี้
แต่วา
เมื่อวาน
น้ำเต้า
ฟักทอง
น้ำชุบ
น้ำพริก
เนียน
ละเอียด, ไม่หยาบ
เนือย
หิว, อ่อนแรง
ดีปลี,ลูกเผ็ด
พริก
เปรว
ป่าช้า
ผักแหวน
ใบบัวบก
พุงปลา
ไตปลา
พาโหม
กะพังโหม
ยิก
ไล่
ลอกอ
มะละกอ
ลกลัก
เร่งรีบ,ลนลาน
ลาต้า
อาการบ้าจี้
แลกเดียว
เมื่อตะกี้
ลูกปาด
ลูกเขียด
สากเบือ
สาก
ส้มนาว
มะนาว
หวันมุ้งมิ้ง
โพล้เพล้
หยบ
ซ่อน,แอบ
หล่าว
อีกแล้ว
หลบบ้าน
กลับบ้าน
หัว
หัวเราะ
หวังเหวิด
กังวล,เป็นห่วง
หย่านัด
สับปะรด
หย้ามู้, ยาหมู่,ชมโพ่
ฝรั่ง
หรอย
อร่อย
อยาก
หิว



 วิเศษ  ชาญประโคน (2550, หน้า 40-41) ได้กล่าวถึง ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น



ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นตะวันออก
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะแต่ง
ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า
เกียน
เกวียน
คุน,แมะ
ยาย
ตะโงน
ตะโกน
พอแรง
มาก
โพง
กระป๋องตักน้ำ
นักนั่ก
มากมาย,เยอะแยะ
ธุ
ไหว้
สงาด
เยอะ, มากมาย
สนุกซ้ะ
สนุกมาก
สะหม่า
ประหม่า
สารพี
ทัพพี
สีละมัน
ลิ้นจี่ป่า
หวด
กิน
หาบ
แบก
ลุ้ย, หลัว
เข่ง
อีโป้
ผ้าขาวม้า
อีแหวก
แมงกะชอน
เอ๊าะ
สาวรุ่น
ฮิ
คำสร้อย
อ๊อกอ้อ
ตุ๊กแก
เอี๊ยว
อ่อน

ขอขอบคุณ http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-7.html
จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์

บทที่ 1 
ภาคเหนือ 


ภาษาเหนือ
ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

อ้างอิงhttp://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/page1.htm

                                                            บทที่ 2
                                                           ภาคอีสาน
ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย? เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์? มีชายแดนติด กับเขมร 
สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน?? เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม
ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค?? ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี
ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้? เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น?? ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน? แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน

ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่? โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น?? เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง? เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ? แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่? ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง?? หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว? แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย?? ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล?? เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา?? แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี? ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว??? จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน?? ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน?? ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้

ที่มา http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/language1.htm


                                                       บทที่ 3
                                                                ภาคใต้
เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น กลุ่ม คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์อำเภอแม่ลานอำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
  ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้
การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก. สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้) สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตได้ เคร่าๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขตจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีฝั่งอ่าวไทย ลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง(เทือกเขานครศรีธรรมราช) เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุดระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกไปยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน
  
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่าก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น
  
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

                                                                 บทที่ 4
                                                    ภาคกลาง

           พื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง ส่วน กรุงเทพมหานคร ไม่นับว่าเป็นจังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ
     เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก แม่กลอง ท่าจีน แควน้อย แควใหญ่ ฯลฯ พื้นที่แถบนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว มีสวนผลไม้ และทำไร่ นอกจากนี้ยังมีกิจการปศุสัตว์ เลี้ยงโคพันธุ์เนื้อพันธุ์นม มีฟาร์มไก่ และเลี้ยงปลา ส่วนจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเลก็ทำการประมง และนาเกลือ รวมไปถึงอาชีพรับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม กิจการพาณิชย์ รับราชการ และงานหัตถศิลป์อีกมากมาย
      จากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวว่า ภาคกลางเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ยุคที่ชนชาติมอญครอบครองดินแดนแถบนี้ จากนั้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชนชาติขอมหรือ เขมรก็เข้ามาเรืองอำนาจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี และขยายอาณาเขตออกไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และสิงห์บุรี
      เมื่อ พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่บริเวณตำบล หนองโสนหรือบึงพระราม นับตั้งแต่นั้นมากรุงศรีอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองเป็นบึกแผ่น มีการขยายอาณาเขตและติดต่อ ค้าขายกับชาวตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ รวมถึงการรับอารยธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในดินแดนแถบนี้         

                                                บทที่ 5
                                                  วัฒนธรรมไทย

     ชาติไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีวัฒนธรรมประจำชาติที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและพัฒนาหล่อหลอมขึ้นในสังคมไทย  จนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นภาษา  วรรณคดี  ศิลปวัตถุ  ดนตรี  อาหารและการแต่งกาย  นอกจากนี้  คนไทยยังได้มีการยอมรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นเข้ามาผสมผสาน  โดยการนำมาดัดแปลงผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน  จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์ในที่สุด

     ที่มาของวัฒนธรรมไทย

          วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากหลายแหล่งกำเนิดด้วยกัน  ดังนี้

1)  สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคมเกษตรกรรม  เนื่องจากพื้นที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  คนไทยจึงมีความผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง  ทำให้เกิดวิถีชีวิตริมน้ำและประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่สำคัญ  เช่น  ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีสงกรานต์  เป็นต้น

2)  พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน  โดยคนไทยได้นำหลักคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้ยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก  เช่น  การทอดกฐิน  การทอดผ้าป่า  การบวชเพื่อสืบทอดศาสนา  เป็นต้น

3)  ค่านิยม  เป็นแบบอย่างพฤติกรรมของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกัน  ค่านิยมบางอย่างกลายเป็นแกนหลักของวัฒนธรรมไทย  เช่น  ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ซึ่งคนไทยให้ความเคารพและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก

                4)  การเผยแพร่และการยอมรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ  ในอดีตประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากจีนและอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม  แต่ในปัจจุบันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมต่างชาติเมาในประเทศไทย  โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่มาจากชาติตะวันตกที่เห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  การแต่งกายตามแบบสากล  การผูกเนคไท  การสวมเสื้อนอก  การสร้างบ้านเรือนรูปทรงต่าง ๆ เป็นต้น



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 4 ภาคกลาง

บทที่ 3ภาคใต้